วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พุดซ้อน

พุดซ้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุดซ้อน (Cape jessamie)
Gardenia jasminoides
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
(unranked):Angiosperms
(unranked):Eudicots
(unranked):Asterids
อันดับ:Gentianales
วงศ์:Rubiaceae
สกุล:Gardenia
สปีชีส์:G. jasminoides
ชื่อทวินาม
Gardenia jasminoides
J.Ellis
ชื่อพ้อง
Gardenia augusta (L.) Merr. (nom. illeg.)
Genipa florida (L.) Baill.
Genipa grandiflora (Lour.) Baill.
Genipa radicans (Thunb.) Baill.
พุดซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวงขาว กระทุ่ม และกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ เก็ตถวา (ภาคเหนือ) พุดจีน และพุดใหญ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี

การปลูกเลี้ยง[แก้]

พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

ประโยชน์[แก้]

นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ในตำรายาจีนเรียกจือจื่อ (ภาษาจีนกลาง) หรือกี้จือ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ[1]

ในวรรณคดี[แก้]

มีบทโครงที่กล่าวถึง พุดซ้อน ใน
ช่อตะแบกสัตตบุษย์พุดซ้อน
จำปีมลุลีมะลิลา
กลิ่นขจรฟุ้งจับนาสา
พิกุลกรรณิการ์สารภี
(รามเกียรติ์ - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1)
เจ้าโมรากรีดเล็บเก็บจำปี
ให้ประภาวดีศรีสมร
เจ้าวิเชียรเก็บกระถินกลิ่นขจร
กับพุดซ้อนตามส่งให้จงกล
(พระอภัยมณี - สุนทรภู่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น