วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

จำปา

จำปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำปา
จำปา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Angiosperm
ชั้น:Magnoliid
อันดับ:Magnoliales
วงศ์:Magnoliaceae
สกุล:Michelia
สปีชีส์:M. champaca
ชื่อทวินาม
Michelia champaca
L.
จำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย และมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จุมปา,จุ๋มป๋า (ภาคเหนือ) จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน ดอกเริ่มแย้มจะมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีดอกมากในช่วงฤดูฝน ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้ ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์ และจำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ลักษณะวิสัย[แก้]

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด เปลือกสีเทาอมขาว มีกลิ่นฉุน

ลักษณะใบ[แก้]

เป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขน ใบแก่เกลี้ยง เส้นใบ 16-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง

ลักษณะดอก[แก้]

เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองอมส้ม ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกตูมรูปกระสวย มีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่ และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน มีจำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกมรูปหอกกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-4.5 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมยามพลบค่ำ ในเช้าวันต่อมากลีบดอกจะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในช่วงเวลาเย็น ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีมากช่วงต้นฤดูฝน

ลักษณะผล[แก้]

เป็นกลุ่ม ยาว 6-9 เซนติเมตร ผลย่อยค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ติดผลได้ดี มีหลายเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง เมล็ดแก่ในช่วงฤดูแล้ง

การขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยง[แก้]

ขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และการตอนกิ่งแต่นิยมเพาะเมล็ดกันมาก เนื่องจากมีเมล็ดจำนวนมาก หาง่าย และเพาะให้งอกได้ง่ายต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดจะมีลำต้นตรง ระบบรากดี เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีทรงพุ่มแน่นทึบสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่บนภูเขาหรือในที่สูงจะติดเมล็ดได้ดีกว่าต้นที่ปลูกบนพื้นราบ จำปาชอบดินร่วนระบายน้ำดีเนื่องจากเป็นไม้ที่ไม่ทนต่อภาวะน้ำท่วมขัง ต้องการรับแสงแดดมากเต็มที่ หากต้องการปลูกให้ออกดอกในกระถางควรใช้วิธีทาบกิ่ง

สรรพคุณ[แก้]

  1. ใบ - แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก
  2. ดอก - แก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต
  3. เปลือกต้น - ฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้เสมหะในลำคอเกิด
  4. เปลือกราก - เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ
  5. กระพี้ - ถอนพิษผิดสำแดง
  6. เนื้อไม้ - บำรุงโลหิต
  7. ราก - ขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก

การใช้ประโยชน์[แก้]

นิยมปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ประเภทดอกหอมสวยงาม และเป็นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากต้นหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น